วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันฮารีรายอ วันสำคัญของศาสนาอิสลาม




     ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน เราจะได้ยินข่าวว่า ชายแดนใต้เตรียมคุมเข้ม เกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในวัน"ฮารีรายอ" ของชาวมุสลิมที่ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เชื่อแน่ค่ะว่า ชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวพุทธคงไม่ค่อยคุ้นชื่อ "ฮารีรายอ" กันซักเท่าไหร่ พร้อมยังสงสัยว่าคือ วันดังกล่าว คือ วันอะไรและมีความสำคัญอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสานำความรู้เกี่ยวกับวันฮารีรายอ ความสำคัญ พิธีกรรม และสาระน่ารู้อื่น ๆ มาฝากกันค่ะ รายละเอียดตามข้างล่างนี้เลยจ้า

           "ฮารีรายอ" (Hari Raya) เป็นภาษามลายูปัตตานี ส่วนในภาษามลายูกลาง แปลว่า วันใหญ่ หรือ วันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม โดยก่อนวันงาน ชาวมุสลิมจะออกมาจับจ่ายซื้อของ เสื้อผ้า และหมวกกะปิเยาะ เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลฮารีรายอกันอย่างคึกคัก และในวันดังกล่าวชาวมุสลิมจะไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่ออภัยต่อกันในสิ่งที่ผ่านมา มีการแสดงออกด้วยการสวมกอด การจูบมือ การหอมแก้มทั้งสองของพ่อแม่ เป็นการแสดงความรัก ลูกหลานที่อยู่ต่างภูมิลำเนาต่างกลับบ้าน เมื่อมาขออภัยและอำนวยพรให้พ่อแม่ ทุกครัวเรือนจะมีความอบอุ่นไปด้วยบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ กลับบ้านโดยพร้อมเพรียงกัน

ชักคะเย่อ



ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวพอประมาณกับจำนวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง เมื่อสัญญาณเริ่ม ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มออกแรงดึงเชือก โดยพยายามดึงฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาในแดนของตน หากผู้แข่งขันเป็นชายหนึ่งฝ่ายและหญิงฝ่ายหนึ่ง อาจจะกำหนดให้ฝ่ายหญิงมีจำนวนมากกว่าชายก็ได้ เป็นการละเล่นไทยสอนให้รู้จักความสามัคคี


วันลอยกกระทง



      ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
 โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด ในปัจจุบัน
 การลอยกระทงได้แพร่หลาย และเป็นที่นิยมไปอย่างกว้างขวาง โดยผู้ใหญ่มักจะเกณฑ์เด็กๆ
 มาช่วยกันทำกระทงนำไปลอยในแม่น้ำ เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา พร้อมทั้งอธิษฐานขอสิ่งดีๆ
 ให้แก่ตนเอง และคนรัก และครอบครัว

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู





            การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ